http://phetburi.siam2web.com

http://phetburi.siam2web.com/

แพคเกจท่องเที่ยวกับ พี่ชาลีทัวร์

แน่ะนำร้านอาหารในเมืองเพชร


แก่งกระจาน เที่ยวชายหาดชะอำ เที่ยวถ้ำเขาหลวง พระนครคีรี พระราชวังมฤคทายวัน

วัดใหญ่สุวรรณาราม วัดกำแพงแลง น้ำพุร้อนหนองหญ้าปล้อง วังบ้านปืนเพชรบุรี ทะเลหมอกที่เขาพะเนินทุ่ง

เจ้าแม่กวนอิมพันมือ เที่ยวทะเลที่หาดเจ้าสำราญจังหวัดเพชรบุรี พี่ชาลีพาท่องเที่ยวในต่างจังหวัดครับ ดูคลิ๊ปวีดีโอพี่ชาลีพาเที่ยวต่างจังหวัด เที่ยวงานกลางเดือน 4 วัดเขาตะเครา

เขาวังคู่บ้าน ขนมหวานเมืองพระ เลิศล้ำศิลปะ แดนธรรมะทะเลงาม

 

จังหวัดเพชรบุรี :: ข้อมูลทั่วไป

 

เพชรบุรี เป็นจังหวัดในภาคกลางที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลอ่าวไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ เป็นระยะทาง 123 กิโลเมตร เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน โดยมีชื่อปรากฏอยู่ในศิลาจารึกหลักที่หนึ่งสมัยสุโขทัยและมีหลักฐานทางโบราณคดี ซึ่งมีอายุย้อนไปถึงสมัยขอมและสมัยทวารวดี ทั้งยังเคยเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญชั้นเมืองลูกหลวงในสมัยอยุธยา



เพชรบุรี มีพื้นที่ 6,255.138 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศทางด้านทิศตะวันตกเป็นป่าเขาสลับซับซ้อน มีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นเส้นกั้นอาณาเขตระหว่างไทยกับสหภาพพม่า เฉพาะในเขตจังหวัดเพชรบุรีมีความยาวประมาณ 120 กิโลเมตร ส่วนทางด้านทิศตะวันออกเป็นที่ราบไปจนจดชายฝั่งทะเลอ่าวไทยซึ่งมีความยาวจากเหนือจดใต้ ประมาณ 80 กิโลเมตร พื้นที่ของจังหวัดเพชรบุรีมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำเพชรบุรี มีความยาวตลอดสาย 227 กิโลเมตร แม่น้ำบางกลอย มีความยาว 44 กิโลเมตร และแม่น้ำบางตะบูน มีความยาว 18 กิโลเมตร

ประชากรจังหวัดเพชรบุรีส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก มีการทำนา สวนผลไม้ ทำน้ำตาลโตนด เลี้ยงสัตว์ และทำการประมง

 

 
ประวัติและความเป็นมา

เพชรบุรี เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ นับเนื่องไปได้เป็นพันปี จากหลักฐานทางโบราณคดี ที่บ่งว่าเคยมีคนอาศัยอยู่ เป็นชุมชนถาวรนั้น มีอายุย้อนไปถึงยุคทวารวดีเลยทีเดียว



ในยุคที่ขอมเรืองอำนาจ อยู่ในดินแดนบางส่วนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันนี้ คือ ในราว 800 ปีมาแล้วนั้น มีจารึกพระขรรค์ ที่กล่าวถึงเมืองเมืองหนึ่ง ที่ชื่อว่า "ศรีวิชัยวัชรปุระ" เมืองนี้ นักวิชาการหลายท่านเชื่อว่า หมายถึงเมืองเพชรบุรี ด้วยเหตุที่คำว่า วัชรปุระ นั้น เมื่อแผลงอักษร ว เป็น พ ก็จะได้เป็นพัชร หรือ เพชร และ ปุระกับบุรี ก็มีความหมายเหมือนกัน ดังนั้น วัชรปุระ กับ เพชรบุรี ก็คือ คำคำเดียวกันนั่นเอง

ชื่อเมืองเพชรบุรีนี้ จะมีที่มาจากอะไรหรือ มีความหมายเกี่ยวเนื่องมาจากสิ่งใดไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ชื่อ เพชรบุรี นั้น ก็ปรากฎหลักฐาน เป็นลายลักษณ์อักษรว่ามีใช้ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันกับชื่อ วัชรปุระ โดยมีกล่าวถึงในจารึกสมัยสุโขทัย อายุกว่า 700 ปีมาแล้ว เป็นเรื่องราวการเดินทางของเชื้อพระวงศ์กษัตริย์สุโขทัยพระองค์หนึ่ง จากศรีลังกา กลับมายังสุโขทัย ในจารึกกล่าวว่า เมื่อขึ้นบกที่เมืองตะนาวศรีแล้ว ท่านได้เดินทางผ่านเพชรบุรี ราชบุรี และอยุธยา เพื่อจะกลับไปยังสุโขทัย

ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพชรบุรี มีความเกี่ยวข้องกับตำนานของปฐมกษัตริย์แห่งอยุธยาว่า พระเจ้าอู่ทองนั้น เคยครองเมืองเพชรบุรีมาก่อน แต่ข้อเท็จจริงประการหนึ่งในประวัติศาสตร์ ก็คือ ตลอดสมัยอาณาจักรอยุธยา ซึ่งมีศึกสงครามรบพุ่ง กับรัฐหรือ อาณาจักรใกล้เคียงอยู่แทบจะไม่ว่างเว้นนั้น เพชรบุรี เป็นหัวเมืองสำคัญอย่างยิ่งในสองสถานะ สถานะแรกคือ เป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหาร เนื่องจากสภาพภูมิประเทศของเพชรบุรี มีพื้นที่ราบลุ่ม ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูก ทำนา ที่อุดมสมบูรณ์ยิ่ง สถานะที่สอง คือ เป็นเมืองที่มีชัยภูมิดี ทั้งทางบกและทางทะเล ในยามศึก เพชรบุรี เป็นเมืองหน้าด่านทางใต้ ที่สำคัญของอาณาจักรอยุธยา เมื่อพม่ายกทัพมาทางบก โดยใช้เส้นทางช่องสิงขรด้านใต้ ในยามสงบ เพชรบุรี มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่าน ที่ช่วยดูแลหัวเมืองปักษ์ใต้ชายทะเล

เพชรบุรี คงดำรงสถานะหัวเมืองสำคัญเช่นนี้ สืบมาจนล่วงเข้าสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ อังกฤษ เข้ายึดครองพม่า ทำให้การสงครามระหว่างพม่า กับไทย ยุติลงอย่างสิ้นเชิง บทบาทหัวเมืองหน้าด่านของ เพชรบุรี จึงเปลี่ยนแปลงไปนับแต่นั้นมา



ในสมัยต่อมา เพชรบุรี ยังคงมีชื่อปรากฎเกี่ยวข้องอยู่กับประวัติศาสตร์ไทยอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวเนื่องด้วย พระมหากษัตริย์ แต่ความสำคัญของเมืองเพชร กลับกลายจากเมืองทางยุทธศาสตร์ มาเป็นเมืองที่ประทับ ในการเสด็จแปรพระราชฐาน ของพระมหากษัตริย์ ถึงสามรัชกาลติดต่อกัน คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ร่องรอยที่เป็นนามธรรม และรูปธรรม ที่ยังคงเหลืออยู่ ได้แก่ ความทรงจำที่เล่าขานกันสืบมา อย่างภาคภูมิใจ ในหมู่ชาวเมืองเพชร และพระราชวังสำคัญสามแห่ง คือ พระนครคีรี พระรามราชนิเวศน์ และพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ที่ยังคงอยู่คู่เมืองเพชรบุรีสืบมา

 
อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ทิศตะวันออก ติดต่อชายฝั่งทะเลอ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับสหภาพพม่า



จังหวัดเพชรบุรี แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คืออำเภอเมือง อำเภอเขาย้อย อำเภอ หนองหญ้าปล้อง อำเภอบ้านแหลม อำเภอบ้านลาด อำเภอท่ายาง อำเภอแก่งกระจาน และอำเภอชะอำ

 
หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 032)

งานข่าวสารการท่องเที่ยว ททท.

02-694-1222 ต่อ 8 , 02-282-9773

ททท.ภาคกลางเขต 2 (ชะอำ)

032-471-005-6

ประชาสัมพันธ์จังหวัด

032-428-047 , 032-425-573

ตำรวจท่องเที่ยว

1155

ตำรวจทางหลวง

032-425-005

สภ.อ.เมือง

032-425-500

สภ.ต.หาดเจ้าสำราญ

032-478-300

สภ.อ.แก่งกระจาน

032-459-267

สภ.อ.เขาย้อย

032-562-500

สภ.อ.ชะอำ

032-471-321

สภ.อ.ท่ายาง

032-461-500

สภ.อ.บ้านลาด

032-491-100

สภ.อ.บ้านแหลม

032-481-500

สภ.ต.บางตะบูน

032-489-250

สภ.อ.หนองหญ้าปล้อง

032-494-364

รพ.ค่ายรามราชนิเวศน์

032-428-085 , 032-428-506-9

รพ.ผลกำเนิดศิริ

032-425-075

รพ.พระจอมเกล้า

032-401-251-7

รพ.เพชรรัชต์

032-417-070-9

รพ.เมืองเพชร-ธนบุรี

032-415-191-9

รพ.วัชรเวช

032-425-592

รพ.สหแพทย์

032-427-980 , 032-428-203

รพ.แก่งกระจาน

032-459-258

รพ.เขาย้อย

032-562-200

รพ.ชะอำ

032-471-007

รพ.ท่ายาง

032-461-100

รพ.บ้านลาด

032-491-051

รพ.บ้านแหลม

032-481-145

รพ.หนองหญ้าปล้อง

032-494-353-4

จังหวัดเพชรบุรี :: การเดินทาง
 
ทางรถยนต์

 

1. เส้นทางนครปฐม - ราชบุรี - เพชรบุรี ใช้ ถ.บรมราชชนนี หรือถนนคู่ขนานลอยฟ้า จากเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ผ่านเขตตลิ่งชัน แยกพุทธมณฑลสาย 2 แยกพุทธมณฑลสาย 4 จนไปบรรจบกับ ถ.เพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ซึ่งตรงมาจากท่าพระ บางแค หนองแขม อ้อมน้อย จนถึง อ.นครชัยศรี จากนั้น มุ่งตรงผ่าน จ.นครปฐม จ.ราชบุรี และเข้าสู่ จ.เพชรบุรี รวมระยะทาง จนถึงตัวเมืองเพชรบุรี ประมาณ 166 กม.

2. เส้นทางสมุทรสาคร - สมุทรสงคราม - เพชรบุรี ใช้ ถ.พระราม 2 (ทางหลวงหมายเลข 35) ซึ่งเริ่มต้นจากทางด่วนเฉลิมมหานคร เชิงสะพานพระราม 9 ผ่านเขตบางมด ภาษีเจริญ หัวกระบือ เอกชัย จนเข้าเขต จ.สมุทรสาคร จ.สมุทรสงคราม อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี จนบรรจบกับ ถ.เพชรเกษม ที่บริเวณแยกวังมะนาว เข้าสู่ จ.เพชรบุรี รวมระยะทาง จนถึงตัวเมืองเพชรบุรี ประมาณ 121 กม.

สำหรับผู้จะเดินทางไปหาดชะอำ ถ้าใช้ ถ.เพชรเกษม โดยไม่เข้าตัวเมืองเพชรบุรี อาจเดินทางถึงที่หมายได้เร็วก็จริง แต่ถ้าใช้เส้นทางสาย 3177 ไปทางหาดเจ้าสำราญ - หาดปึกเตียน เส้นทางจะผ่านทุ่งนา และเลียบชายทะเล ซึ่งมีทิวทัศน์สวยงาม
 
ทางโดยรถประจำทาง
 

รถโดยสารประจำทางมีทั้งรถปรับอากาศชั้น 1 ชั้น 2 และรถธรรมดา ขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งสายใต้ ถ.บรมราชชนนี รถไปเพชรบุรีนั้น มีสองเส้นทาง คือ

- สายใหม่ หมายถึงรถที่วิ่งเส้นทางสมุทรสาคร - สมุทรสงคราม - เพชรบุรี สายใหม่จะใกล้กว่า เป็นที่นิยมของคนเมืองเพชรบุรี เป็นเส้นทางเดินรถ ปอ.1

- สายเก่า หมายถึงรถที่วิ่งเส้นทาง นครปฐม - ราชบุรี - เพชรบุรี ระยะทางไกลกว่าสายใหม่ เป็นเส้นทางเดินรถ ปอ.2 และรถธรรมดา

รถปรับอากาศ จอดที่สถานีรถปรับอากาศเพชรบุรี ติดกับตลาดโต้รุ่ง เยื้องที่ทำการเทศบาลเมืองเพชรบุรี ตรงจุดบรรจบของ ถ.รถไฟ กับ ถ.ดำเนินเกษม

รถโดยสารธรรมดา ใช้เส้นทางสายเก่า (ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านราชบุรี) และไม่เข้าตัวเมืองเพชรบุรี โดยไปจอดที่สถานีขนส่งข้างวัดถ้ำแก้ว ใกล้กับสถานีเคเบิ้ลคาร์ ด้านหลังเขาวัง (แต่รถโดยสารธรรมดานี้ไม่เป็นที่นิยมนัก เนื่องจากกรมการขนส่งทางบก ยังไม่รับรอง และมีผู้โดยสารร้องเรียนเรื่องการบริการอยู่เสมอ ๆ)

รถโดยสารไปชะอำ มีเฉพาะรถปรับอากาศชั้น 1 ไปจอดที่สถานีขนส่งชะอำ ถ.ร่วมจิตต์ หรือ ถนนเลียบชายหาด



นอกจากนี้ยังสามารถนั่งรถโดยสารประจำทางที่ลงใต้ได้ทุกจังหวัด หากจะไปยังตัวเมืองเพชรบุรี ก็ลงรถที่สถานีขนส่ง ข้างวัดถ้ำแก้ว ถ้าไปชะอำ รถจะจอดที่ปั๊มเชลล์ ก่อนถึงสี่แยกชะอำ หรือหากต้องการลงระหว่างทาง ก็สามารถลงได้ ตามสี่แยกไฟแดงใหญ่ๆ บน ถ.เพชรเกษม

รถโดยสารทุกประเภท ไม่รับจองตั๋วล่วงหน้าทางโทรศัพท์ นอกจากไปชำระเงินสดที่สถานีเท่านั้น

ถ้าต้องการความสะดวก รวดเร็ว สามารถเลือกนั่งรถตู้โดยสารได้ด้วย โดยเป็นรถตู้สายกรุงเทพฯ - หัวหิน ในกรุงเทพฯ รถจอดอยู่ บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ หน้า รพ.ราชวิถี รถจะส่งผู้โดยสารลงสามจุด คือ ที่หน้าบิ๊กซี เพชรบุรี สี่แยกชะอำ และที่หัวหิน ขากลับ เข้ากรุงเทพฯ สามารถดักรอที่จุดต่างๆ เหล่านี้ได้

 
ตารางโทรศัพท์ติดต่อรถโดยสาร ที่สถานีขนส่งสายใต้ กรุงเทพฯ
ประเภทรถ
บริษัท
โทรศัพท์

ปรับอากาศชั้น 1

กรุงเทพฯ - เพชรบุรีทัวร์ จำกัด
หัวหิน - ปราณทัวร์ จำกัด

02-435-7408
02-435-5097 , 02-884-6192

ปรับอากาศชั้น 2 (สายใหม่)

บริษัทขนส่ง จำกัด

02-435-1195-6

 
ตารางโทรศัพท์ติดต่อรถโดยสาร ที่เพชรบุรี
ประเภทรถ
บริษัท
สถานี
โทรศัพท์

ปรับอากาศชั้น 1

กรุงเทพฯ - เพชรบุรีทัวร์ จำกัด

หัวหิน - ปราณทัวร์ จำกัด

ใกล้ที่ทำการ ปณ.
อ.ท่ายาง
อ.บ้านแหลม
ถ.ร่วมจิตต์
อ.ชะอำ

032-425-922
032-461-813
032-483-314
032-471-654

ปรับอากาศชั้น 2 (สายใหม่)

บริษัทขนส่ง จำกัด

ใกล้ที่ทำการ ปณ.

032-425-307

 
หมายเหตุ สายเก่าผ่าน จ.นครปฐม และราชบุรี ส่วนสายใหม่ผ่าน จ.สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
 
ทางรถไฟ
 
สำหรับรถไฟ มีทั้งรถธรรมดา รถเร็ว รถด่วน ฯลฯ การเที่ยวทางรถไฟต้องใช้ระยะเวลาเดินทางเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประเภทของรถไฟ แต่ทัศนียภาพสองข้างทาง ก็ให้บรรยากาศ และความเพลิดเพลิน ในอีกรูปแบบที่ต่างไปจากการเดินทางโดยรถยนต์ นอกจากนี้ รฟท. ยังให้บริการนำเที่ยว เมืองเพชร โดยใช้เวลา 1 วันด้วย ค่าโดยสารรถไฟ มีสองส่วน คือ ค่าธรรมเนียมรถไฟ ซึ่งจ่ายตามประเภทรถ และค่าโดยสารซึ่งจ่ายตามชั้นที่นั่ง
 
นำเที่ยวเมืองเพชร โดย รฟท.
หากต้องการท่องเที่ยวแบบประหยัดเวลา สะดวกสบาย และปลอดภัย รฟท. ได้จัดนำเที่ยวแบบพิเศษ ไปเช้ากลับเย็น สู่ จ.เพชรบุรี ทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดราชการ โดยขบวนรถจะออกจากสถานีหัวลำโพง เวลา 06.30 น. หยุดนมัสการพระปฐมเจดีย์ ที่นครปฐม เมื่อถึงสถานีเพชรบุรี มัคคุเทศน์ จะนำชมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี แวะซื้อของฝากจากเมืองเพชร จากนั้นมีบริการอาหารกลางวัน ช่วงบ่ายคลายร้อน ด้วยการเล่นน้ำที่หาดชะอำ แล้วเที่ยวชมพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เป็นการปิดท้ายรายการ รถไฟจะออกจากสถานีชะอำ กลับถึง กรุงเทพฯ ประมาณ 20.00 น. สำรองที่นั่ง ได้ที่ สถานีรถไฟหัวลำโพง โทร. 02-225-6964 หรือ 02-225-0300 ต่อ 5217
 
อัตราค่าบริการ
- รถธรรมดา ผู้ใหญ่ 580 บาท เด็ก 480 บาท
- รถปรับอากาศ ผู้ใหญ่ 680 บาท เด็ก 580 บาท
 
ตารางโทรศัพท์ติดต่อสอบถามรถไฟ
สถานี
โทรศัพท์

กรุงเทพฯ (หัวลำโพง)

02-223-3762 , 02-220-4334

ธนบุรี (บางกอกน้อย)

02-411-3102

สอบถามตารางรถไฟ (ปชส.)

1690

เพชรบุรี

032-425-211

ชะอำ

032-471-159

 
การเดินทางภายในตัวเมือง

การเดินทางในตัวเมืองเพชรบุรีค่อนข้างสะดวกสบาย มีรถหลายประเภท ให้เลือกใช้บริการ ดังนี้

1. รถสี่ล้อเล็ก ชาวเมืองเพชร เรียกว่า "รถเล้ง" มีวิ่งบริการอยู่ทั่วไป จะจอดรอผู้โดยสารอยู่ตามหน้าสถานีขนส่ง สถานีรถไฟ ตลาด นักท่องเที่ยวควรถามคนขับก่อนขึ้นรถ ถึงเส้นทางที่รถจะผ่าน และจุดหมายปลายทางที่ต้องการจะไป รวมทั้งค่าโดยสาร อัตราค่าโดยสาร อย่างต่ำคนละ 5 บาท ราคาเหมารวม พาไปตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ในตัวเมืองประมาณ 200-300 บาท



2. สามล้อถีบ มีบริการอยู่ทั่วไป จอดรอผู้โดยสารอยู่ตามจุดต่างๆ เช่นเดียวกับรถเล้ง รถหนึ่งคัน นั่งได้สองคน อัตราค่าโดยสาร ในระยะทางสั้นๆ (ประมาณ 1-2 กม.) คนละ 15 บาท ราคาเหมารวมพาไปตามที่ท่องเที่ยวต่างๆ ประมาณ สี่ห้าแห่ง 100 บาท

3. มอเตอร์ไซค์รับจ้าง มีวิ่งบริการในเมืองเพชรบุรี อยู่มากมายเช่นเดียวกัน อัตราค่าโดยสารไม่เกิน 2 กม. คนละ 15 บาท มีบริการตั้งแต่ 06.00 - 23.00 น.

 

การเดินทางไปเที่ยวต่างอำเภอ
1. รถสองแถว คิวรถสองแถวไปต่างอำเภอจอดกระจายอยู่ ในบริเวณตลาดเพชรบุรี ค่ารถประมาณ 10-20 บาท รถบางสายมีเวลาออกไม่แน่นอน โดยเฉพาะช่วงเวลากลางวันที่มีผู้โดยสารน้อย

2. รถแท็กซี่ป้ายดำ เป็นรถเก๋ง แต่ไม่มีสี หรือมีป้ายบอกชัดเจนเหมือนแท็กซี่ในกรุงเทพฯ จึงสังเกตได้ยาก รถพวกนี้จะจอดอยู่ตามคิว และมีคนคอยร้องเรียกผู้โดยสาร ต้องมีผู้โดยสารครบหกคน รถจึงออก ข้อดีของรถชนิดนี้คือ ใช้เวลาเดินทางน้อยกว่ารถสองแถว และสามารถเหมา ไปที่ต่างๆ ได้

3. รถเช่า ที่บริเวณชายหาดชะอำ มีรถมอเตอร์ไซค์ และรถจักยานให้เช่า ต้องวางบัตรประชาชน ไว้เป็นหลักฐาน และจ่ายค่าเช่าล่วงหน้า มีตัวอย่างราคา ดังนี้
- มอเตอร์ไซค์ 120 บาท / ชม. และ 300 บาท / วัน
- จักรยาน 10 บาท / ชม. และ 50 บาท / วัน
 
ระยะทางจากตัวเมืองไปอำเภอต่าง ๆ และจังหวัดใกล้เคียง

จากตัวเมือง มีรถโดยสารไปยังอำเภอต่าง ๆ โดยมีระยะทางดังนี้
- อำเภอท่ายาง 18 กิโลเมตร
- อำเภอชะอำ 45 กิโลเมตร
- อำเภอบ้านแหลม 12 กิโลเมตร
- อำเภอบ้านลาด 8 กิโลเมตร
- อำเภอเขาย้อย 23 กิโลเมตร
- อำเภอหนองหญ้าปล้อง 34 กิโลเมตร
- อำเภอแก่งกระจาน 57 กิโลเมตร

นอกจากนี้จากตัวเมืองเพชรบุรียังมีรถโดยสารไปหัวหิน ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และราชบุรี ระยะทางเป็นดังนี้

เพชรบุรี-หัวหิน 66 กิโลเมตร
เพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ 158 กิโลเมตร
เพชรบุรี-ราชบุรี 54 กิโลเมตร

ชวนชมรีสอร์ท อุทยานบ้านดิน   

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 13,420 Today: 3 PageView/Month: 33

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...